• facebook
  • instagram
  • twitter
  • linkedin
  • youtube
  • telegram
ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนคืออะไร ? 

สารบบ

ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนคืออะไร ? 

ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนคืออะไร ? 

Vantage Updated by Updated Wed, January 10 02:16

คู่มือฉบับสมบูรณ์สำหรับนักลงทุน

จากการศึกษาเศรษฐศาสตร์ เราได้ความตระหนักถึงความขาดแคลนในความพยายามที่จะจัดสรรทรัพยากรที่มีจำกัดอย่างมีประสิทธิผลให้มีลักษณะที่ตอบสนองความปรารถนาของมนุษย์

ความขาดแคลนได้ขยายออกไปเกินขอบเขตของเศรษฐศาสตร์ และกลายเป็นข้อกังวลระดับโลกที่ฝังอยู่ในทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในโลกของเรา ขณะที่โลกของเรามีทรัพยากรที่จำกัดซึ่งจะหมดลงเมื่อเวลาผ่านไป แต่ความปรารถนาของมนุษยชาติกลับมีมากขึ้นเรื่อยๆ 

การที่ยังคงเอารัดเอาเปรียบทรัพยากรอันมีค่าอย่างต่อเนื่องอยู่นั้นแสดงให้เห็นว่า ไม่ได้เกิดความยั่งยืน โดยแนวทางแก้ไขที่เป็นไปได้คือ การเปลี่ยนไปสู่กระบวนทัศน์เศรษฐกิจอื่นๆ ซึ่งออกแบบมาเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากร และอาจเปิดโอกาสการลงทุนใหม่ๆ สำหรับนักลงทุนที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม

ในบทความนี้ เราจะพูดถึงระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่กำลังเกิดขึ้น เหตุใดจึงมีความสำคัญ รวมไปถึงศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น

ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนคืออะไร?

ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นแนวคิดที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในวิธีที่เราผลิต ใช้ และจัดการทรัพยากร ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม โดยที่ทรัพยากรจะถูกสกัด หรือเปลี่ยนสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้บางครั้งยังเรียกว่าโมเดล “ใช้ ทำ ทิ้ง “

เป้าหมายของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนคือ การสร้างระบบวงจรปิดให้ทรัพยากรต่างๆ ให้ถูกนำมาใช้ซ้ำๆ และรีไซเคิลหรือ ทั้งนี้เพื่อลดการใช้ทรัพยากรใหม่

หลักการสำคัญของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน

เศรษฐกิจหมุนเวียนอยู่ภายใต้หลักการสำคัญ 6 ประการ ดังนี้

  • ลด ใช้ซ้ำ และรีไซเคิล: เศรษฐกิจหมุนเวียนมุ่งเน้นไปที่การลดการใช้ทรัพยากรและการนำผลิตภัณฑ์หรือวัสดุกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงการรีไซเคิลผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุการใช้งานเพื่อลดการสร้างของเสีย โดยสิ่งนี้จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการผลิตและการบริโภค
  • การออกแบบเพื่อความยั่งยืน: ผลิตภัณฑ์และบริการได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึงอายุการใช้งานที่ยาวนานและสามารถซ่อมแซมได้หรือสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ ด้วยวิธีการนี้ส่งเสริมความทนทานและความง่ายในการบำรุงรักษาจะช่วยยืดอายุการใช้งานของสินค้า
  • ประสิทธิภาพทรัพยากร:การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเป็นหลักการสำคัญของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยเกี่ยวข้องกับการใช้วัสดุและพลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดในระหว่างการผลิต ซึ่จะงช่วยลดของเสียและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • การแบ่งปันและการบริโภคร่วมกัน:การใช้แพลตฟอร์มการแบ่งปันและโมเดลการบริโภคร่วมกัน เช่น การแชร์รถยนต์ และการเช่าแบบ peer-to-peer โดยสิ่งนี้จะส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และลดความจำเป็นในการผลิตสำหรับผู้บริโภคแต่ละราย
  • แนวทางปฏิรูป:นอกเหนือจากการรีไซเคิลแล้ว ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนยังส่งเสริมแนวทางปฏิบัติที่ฟื้นฟูหรือสร้างระบบนิเวศใหม่ เช่น การปลูกป่าและการเกษตรแบบยั่งยืน
  • เทคโนโลยีดิจิทัล:การบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น Internet of Things (IoT) และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่จะช่วยติดตามและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร ทำให้กระบวนการมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เหตุใดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนจึงมีความสำคัญ

ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนมีศักยภาพที่จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีชีวิตที่ยั่งยืนมากขึ้นเมื่อดำเนินการอย่างเหมาะสม เศรษฐกิจหมุนเวียนจะสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยลดการดึงทรัพยากร และการสร้างขยะให้เหลือน้อยที่สุด นั่นหมายถึงที่ดินถูกทำลายน้อยลงเนื่องจากเปลี่ยนการขุดหรือเป็นการฝังกลบบ

เศรษฐกิจแบบหมุนเวียนยัังสามารถลดการพึ่งพาทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด และป้องกันความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทานซึ่งทำให้เกิดความมั่นคงด้านทรัพยากรมากขึ้น นอกจากนี้เศรษฐกิจหมุนเวียนยังสามารถส่งเสริมโอกาสให้กับประชากรด้วยการสร้างงานเพื่อเติมเต็มบทบาทต่างๆ เช่น การวิจัยและสร้างนวัตกรรม การศึกษา และการนำไปปฏิบัติ เป็นต้น

เมื่อเศรษฐกิจหมุนเวียนหยั่งรากแล้ว ผู้บริโภคจะมีพลังมากขึ้นในการตัดสินใจเลือกความยั่งยืนในชีวิตประจำวันของตน โดยสิ่งนี้สามารถเพิ่มความต้องการในแนวทางปฏิบัติด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและสร้างวงจรตอบรับเชิงบวก หรือปูทางไปสู่การดำเนินการที่มีความหมายและยั่งยืนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

นอกเหนือจากการยึดมั่นในคำมั่นในการพัฒนาความยั่งยืนและบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้ว ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนยังมาพร้อมกับโอกาสในการลงทุนที่คุ้มค่าอีกด้วย

โอกาสในการลงทุนในเศรษฐกิจหมุนเวียน

เศรษฐกิจแบบหมุนเวียนไม่ใช่สิ่งใหม่ โดยอุตสาหกรรมจำนวนมากได้นำหลักการสำคัญบางประการของเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ในความพยายาม เพื่อให้บรรลุแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนมากขึ้น ในหลายครั้งอาจต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยเพื่อให้บรรลุกระบวนการแบบหมุนเวียนโดยสมบูรณ์

ด้วยเหตุนี้เศรษฐกิจหมุนเวียนจึงสามารถเสนอโอกาสในการลงทุนที่มีศักยภาพมากมาย เมื่อพิจารณาจากการเข้าถึงและความสามารถในการรวมเข้ากับภาคส่วนต่างๆที่มีอยู่อย่างกว้างขวางแล้ว ต่อไปนี้จะเป็นช่องทางที่เป็นไปได้ที่นักลงทุนอาจพบกับการลงทุนที่เหมาะสม

  • พลังงานทดแทน: พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ลม และไฟฟ้าพลังน้ำ ถือเป็นเสาหลักที่สำคัญในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ช่วยให้อุตสาหกรรมและผู้ผลิตสามารถลดการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิตและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยความต้องการพลังงานทดแทนคาดว่า จะเพิ่มขึ้นในขณะที่โลกเปลี่ยนไปสู่เศรษฐกิจแบบหมุนเวียน ซึ่งจะสร้างโอกาสที่สามารถสร้างกำไรให้กับนักลงทุน
  • การจัดการของเสียและการรีไซเคิล: อุตสาหกรรมอื่นที่ให้คำมั่นสัญญาสำหรับนักลงทุนในเศรษฐกิจหมุนเวียน คือ ภาคการจัดการขยะและการรีไซเคิล การรวบรวม คัดแยก และแปรรูปวัสดุเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ถือเป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจหมุนเวียน แต่ยังต้องมีการทำงานอีกมากเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และเพิ่มปริมาณความเป็นไปได้ที่สามารถก้นำกลับมาใช้ได้ โดยความต้องการนวัตกรรมและการค้นพบใหม่ๆ อาจส่งผลต่อผลตอบแทนสำหรับนักลงทุนยุคแรกๆ
  • การจัดการทรัพยากรน้ำ: เช่นเดียวกับการจัดการขยะและการรีไซเคิล ภาคการจัดการน้ำมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น โดยบริษัทที่มุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยีในการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ การบำบัด และการอนุรักษ์ อาจช่วยสร้างการลงทุนที่น่าดึงดูด
  • บริการการแชร์และการทำงานร่วมกัน: แพลตฟอร์มที่อำนวยความสะดวกในการแชร์และความพยายามในการทำงานร่วมกัน เช่น co-working, car-pooling และการเช่าแบบ peer-to-peer อาจเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ลงทุนในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ด้วยบริการดังกล่าวสามารถเพิ่มการใช้ทรัพยากรและประสิทธิภาพสูงสุด ที่จะช่วยให้ทำสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้นโดยลดเวลาให้น้อยลง
  • ทางออกของห่วงโซ่อุปทานแบบหมุนเวียน: เศรษฐกิจแบบวงกลมอาจต้องการทางออกของห่วงโซ่อุปทานแบบพิเศษ ด้วยบริษัทที่มุ่งเน้นการสร้าง สร้างสรรค์ และจัดหาโซลูชั่นเหล่านี้ รวมถึงลอจิสติกส์ การวิเคราะห์ข้อมูล และแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ อาจมีการเติบโตและศักยภาพในการลงทุนที่ดี
  • ทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม: นักลงทุนไม่จำเป็นต้องจำกัดตัวเองอยู่เฉพาะภาคส่วนหรือบริษัทที่ทำงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างชัดเจน พวกเขายังสามารถมองหาโอกาสในอุตสาหกรรม และผู้ให้บริการที่สนับสนุนแนวคิดหลักของเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนซึ่งหมายความว่า องค์กรหรือผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น พลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สินค้าและวัสดุที่ยั่งยืน การออกแบบ และกระบวนการที่ประหยัดทรัพยากร จะช่วยสร้างทางเลือกในการลงทุนที่แข็งแกร่งอีกด้วย
  • กระแสแบบหมุนเวียน: กระแสความยั่งยืนที่ให้ความสำคัญกับการลดของเสีย การใช้วัสดุรีไซเคิล และการส่งเสริมแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนและมีจริยธรรม กำลังได้รับแรงผลักดันที่จะช่วยสร้างช่องทางสำหรับนักลงทุนในการเก็บเกี่ยวผลตอบแทนที่เป็นไปได้จากเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน
  • อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม: การลงทุนในแนวปฏิบัติด้านอาคารที่ยั่งยืน วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และโครงสร้างพื้นฐานที่ประหยัดพลังงาน สามารถสอดคล้องกับเป้าหมายของเศรษฐกิจหมุนเวียนและให้ผลตอบแทนในระยะยาว

กรณีของเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน

เศรษฐกิจแบบหมุนเวียนเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ ซึ่งถือเป็นพลังในการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงเพื่อการก้าวไปของมนุษยชาติในแต่ละชาติพันธุ์ุ์

ในฐานะผู้บริโภค การมีแนวทางปฏิบัติแบบหมุนเวียน จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการนำหลักปฏิบัติมาใช้ในวงกว้าง เนื่องจากประโยชน์ในการดำเนินการซึ่งจะได้แก่ การลดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่พิสูจน์ได้ชัดในตัวเอง

การลงทุนในบริษัทที่มีอนาคตสดใสที่ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมนั้น เป็นวิธีที่ดีในการสนับสนุนความยั่งยืนและทำหน้าที่ในส่วนของคุณเพื่อสิ่งแวดล้อม ยิ่งไปกว่านั้นหากคุณลงทุนอย่างรอบคอบและชาญฉลาด คุณจะได้รับผลประโยชน์ในทันทีทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและทางการเงิน